ฝ้า (Melasma) เป็นโรคที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาชวนกลุ้มใจที่ใครๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง ในบทความนี้เราจะมากล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดฝ้า ลักษณะของฝ้า ตลอดจนวิธีการรักษา แนะนำครีมทาฝ้าราคานักศึกษา รวมไปถึงวิธีการดูแลตนในระหว่างการรักษาฝ้า เป็นต้น จริงๆ แล้วประวัติศาสตร์ของฝ้าเริ่มต้นมีรายงานตั้งแต่ยุคก่อนคริสตกาล จากข้อมูลในอดีตจนถึงปัจจุบัน พบมีรายงานการเกิดฝ้าได้ในคนทุกเพศ แต่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบมีรายงานการเกิดฝ้าในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเฉลี่ยคิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 9 ถึง 10 คนในผู้หญิง ต่อ 1 คน ในผู้ชาย ช่วงอายุที่พบบ่อยคือตั้งแต่ 20 ถึง 40 ปี ความชุกของฝ้าแปรฝันขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ สีผิวและการโดนแสงแดด โดยฝ้าพบมากในคนกลุ่มเชื้อสายเอเชีย อินเดีย ปากีสถาน ตะวันออกกลาง เป็นต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสีผิวจะพบว่าฝ้าพบมากในคนผิวสีน้ำตาลอ่อน สีแทนหรือน้ำตาลเข้ม (Fitzpatrick skintype III-V) มากกว่าคนที่มีผิวขาวจัดหรือ ผิวดำจัด
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
Toggleฝ้า คืออะไร อะไรคือสาเหตุและสิ่งกระตุ้นให้เกิดฝ้า
ฝ้าเป็นความผิดปกติของการสร้างเม็ดสีชนิดหนึ่ง ทำให้มีลักษณะเป็นปื้นหรือจุดสีน้ำตาลบริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า อาการของฝ้ามักเป็นเรื้อรัง ทำให้ผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวมีความไม่มั่นใจหรือรู้สึกไม่สวยงามตามมา
สาเหตุที่แท้จริงของฝ้านั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบว่ามีสิ่งกระตุ้นหลายประเภทที่เป็นทั้งปัจจัยเสี่ยงในการก่อให้เกิดฝ้าและสามารถกระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้นได้ ทั้งปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน รวมถึงกรรมพันธุ์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
1. แสงแดด (sun exposure)
เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการก่อให้เกิดฝ้า และกระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น ทั้งในเพศชายและเพศหญิง แสงแดดโดยเฉพาะรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือรังสียูวี (ultraviolet radiation, UV) จะไปกระตุ้นโดยตรงให้เซลล์สร้างเม็ดสีมีการผลิตเม็ดสีมากขึ้น และยังทำร้ายผิวก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน มีผลก่อให้เกิดฝ้าตามมา นอกจากรังสียูวีแล้ว ยังพบว่าในแสงแดดยังมีรังสีอินฟราเรด (infrared radiation) ที่ก่อให้เกิดความร้อน และแสงในช่วงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ (visible light) ที่สามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดสีได้เช่นเดียวกัน ทำให้พบว่าตำแหน่งที่มักจะเป็นฝ้ามักเป็นตำแหน่งที่โดนแดดปริมาณมากนั่นเอง
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบฝ้าเข้มขึ้นในช่วงที่โดนแดดจัด หรือช่วงฤดูร้อนและฝ้าอาจจะดีขึ้นเองในช่วงฤดูหนาวอีกด้วยซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนสาเหตุของการเกิดฝ้าจากแสงแดดมากขึ้น
2. ความร้อน
นอกจากความร้อนจากแสงแดดแล้วนั้น ยังเคยมีรายงานการถูกกระตุ้นของฝ้าในคนที่ทำงานเกี่ยวกับความร้อน เช่น ช่างทำขนม หรือพ่อครัวที่ต้องทำงานหน้าเตาไฟตลอดเวลาอีกด้วย
3. ฮอร์โมนเพศ (sexual hormones)
ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน (progesterone) สัมพันธ์กับการเกิดฝ้า ดังจะเห็นได้จากในคนที่ตั้งครรภ์บางคนมีฝ้าเกิดขึ้นใหม่ หรือในคนที่เป็นฝ้าอยู่เดิมอาจจะมีฝ้าเข้มมากขึ้นโดยเฉพาะฝ้าบริเวณใบหน้า และฝ้ามักจะดีขึ้นภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากคลอดบุตร นอกจากนี้ในคนที่ทานยาคุมกำเนิด หรือคนที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนในการรักษาโรคต่างๆ ยังพบมีการกระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น และการรักษาฝ้ายากมากขึ้นด้วย
ปัจจัยทางฮอร์โมนไม่ได้พบเฉพาะในเพศหญิงเท่านั้น สำหรับเพศชายเองก็เคยมีรายงานการเกิดฝ้าในคนที่มีความผิดปกติของระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) เช่นเดียวกัน
4. ปัจจัยทางด้านเชื้อชาติและสีผิว (skin phototype)
ฝ้าเกิดขึ้นได้กับคนทุกเชื้อชาติและสีผิว โดยพบในคนเชื้อสาย Hispanic เอเชีย อินเดีย ปากีสถาน ตะวันออกกลาง และแอฟริกันอเมริกัน ได้มากกว่าคนผิวขาว และลักษณะของสีผิวที่แตกต่างกันมีผลต่อการเกิดฝ้า โดยฝ้าพบได้มากในคนผิวสองสีหรือผิวสีน้ำตาลมากกว่าคนผิวขาวจัดหรือดำจัด
5. ปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic predisposition)
เคยมีการศึกษาในปี ค.ศ. 2009 ซึ่งเก็บข้อมูลจากหลายประเทศทั่วโลกพบว่าประมาณร้อยละ 48 ของคนที่เป็นฝ้ามักจะมีประวัติคนในครอบครัวเป็นฝ้าเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น บิดา มารดา พี่ หรือน้อง(first-degree relatives) นอกจากนี้ยังเคยมีการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดฝ้ากับความผิดปกติของยีนบางชนิดอีกด้วย
6. การอักเสบของผิวหนัง
ซึ่งอาจเกิดตามหลังการทายาบางชนิดหรือการทำาหัตถการต่างๆ รวมถึงเลเซอร์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนังตามมาซึ่งเมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นก็จะสามารถกระตุ้นให้ฝ้าที่เป็นอยู่เดิมเข้มขึ้นได้
7. ยารับประทานบางชนิด
เช่น ยากันชัก กลุ่ม Phenytoin หรือยาในกลุ่มที่ก่อให้เกิดการไวต่อแสง (photosensitizing drugs) สามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้
8. ปัจจัยอื่นๆ
ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้ แต่พบได้น้อย เช่น ภาวะเครียด ซึ่งเคยมีรายงานการเกิดฝ้าตามหลังภาวะเครียด และในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิดที่สามารถกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีมากขึ้น เช่น ฮอร์โมน ACTH และ MSH เป็นต้น นอกจากนี้โรคบางชนิด เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์โดยเฉพาะกลุ่ม Autoimmune thyroid disease เนื้องอกรังไข่ (ovarian tumors) ก็เคยมีรายงานการกระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น
จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด พบว่า 3 ปัจจัยหลักที่สำาคัญที่กระตุ้นให้เกิดฝ้ามากที่สุด คือ แสงแดด ฮอร์โมนเพศ และ ปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งถ้าแยกปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดฝ้าตามเพศจะพบว่าในเพศหญิงสิ่งกระตุ้นหลัก คือ การตั้งครรภ์ แสงแดดและการใช้ยาคุมกำเนิด ตามลำดับ สำหรับในเพศชาย สาเหตุหลักได้แก่ แสงแดด รองลงมาคือการมีประวัติคนในครอบครัวเป็นฝ้า
ลักษณะอาการของฝ้า
ฝ้ามีลักษณะเป็นรอยสีน้ำตาลขอบเขตไม่เรียบ มักเป็นเท่ากันทั้งสองข้างของร่างกาย โดยลักษณะของฝ้าที่พบเป็นได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อน ซึ่งเห็นขอบเขตไม่ชัดเจน จนถึง สีน้ำตาลเข้ม หรือ น้ำตาลเทาขึ้นอยู่กับความลึกของฝ้าในชั้นผิวหนัง ตำแหน่งที่พบมากที่สุดคือบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะตำแหน่งที่โดนแสงแดด เช่น โหนกแก้ม หน้าผาก จมูก เหนือริมฝีปากบน และคาง ตำแหน่งอื่นๆ ที่พบได้ เช่น แขน หน้าอก ไหปลาร้า หรือ หลัง เป็นต้น อาการมักพบครั้งแรกหลังโดนแดด หรือ ช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ (Mask of pregnancy) โดยฝ้าที่พบในคนผิวสีอ่อนหรือฝ้าที่พบระหว่างการตั้งครรภ์ บางครั้งสามารถจางลงและหายได้เอง แต่ฝ้าที่พบในคนผิวสีเข้ม มีแนวโน้มที่จะคงอยู่และไม่หายไปเอง
ชนิดของฝ้า
สามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ตามความลึกของฝ้าในชั้นผิวหนัง คือ
- ฝ้าในชั้นหนังกำพร้า (ฝ้าตื้น, epidermal type) มักเห็นขอบเขตชัดเจนมีสีน้ำตาลเข้ม
- ฝ้าในชั้นหนังแท้ (ฝ้าลึก, dermal type) ขอบเขตของฝ้ามักไม่ชัดเจนเห็นเป็นสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเทา บางครั้งแยกได้ยากจากผิวปกติโดยรอบ โดยเฉพาะในคนที่มีสีผิวค่อนข้างเข้มอยู่เดิม
- ฝ้าชนิดผสม (mixed type) เป็นชนิดที่พบได้มาก โดยพบร่วมกันทั้งฝ้าตื้นและฝ้าลึก
- ฝ้าที่ไม่สามารถบอกตำาแหน่งได้ชัดเจน (indeterminate type) พบในผู้ป่วยที่มีสีผิวเข้มมาก ทำให้ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าฝ้าเกิดอยู่ในผิวหนังชั้นหนังกำพร้าหรือหนังแท้
การแบ่งฝ้าตามความลึกของฝ้านั้นนอกจากจะอาศัยการดูสีของฝ้าด้วยตาเปล่าแล้ว ยังสามารถใช้เครื่องมือ Wood’s light ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้แสงในความยาวคลื่นระหว่าง 320 ถึง 400 นาโนเมตร มาช่วยในการวินิจฉัย โดยจะต้องดูภายใต้ห้องที่มืดสนิท ซึ่งจะพบว่ากรณีฝ้าตื้นจะเห็นรอยโรคของฝ้าชัดเจนมากขึ้น แต่สำหรับฝ้าลึกลักษณะความชัดของฝ้าจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง หรือไม่ชัดเจนขึ้นภายใต้ Wood’s light นั่นเอง
บริเวณที่มักเกิดฝ้า
สำหรับฝ้าบริเวณใบหน้าสามารถแบ่งออกตามตำแหน่งการกระจายตัวของฝ้าออกได้เป็น 3 แบบคือ
- Centrofacial pattern เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยตำแหน่งของฝ้าจะพบบริเวณกลางใบหน้าเป็นหลักคือบริเวณหน้าผาก แก้ม
ผิวหนังบริเวณเหนือริมฝีปากบน จมูก และ คาง - Malar pattern พบรอยฝ้าบริเวณ แก้มและจมูก
- Mandibular pattern พบฝ้าบริเวณแนวกรามเป็นหลัก
ตำแหน่งอื่นๆ บนใบหน้าที่เคยพบมีรายงานการเกิดฝ้า ได้แก่ รอบดวงตา (periorbital area) แต่มักจะเห็นรอยฝ้าไม่ชัดเจน ต้องอาศัยการดูรอยฝ้าภายใต้แสง Wood’s light จึงจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ลักษณะอาการโดยทั่วไปของฝ้า
ฝ้ามักพบในวัยกลางคน โดยความชุกของฝ้า (prevalence) พบได้ลดลงหลังอายุ 50 ปี ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปหลังหมดประจำเดือนและเซลล์สร้างเม็ดสีที่ผลิตเม็ดสีได้ลดลงตามอายุ
ฝ้าตอบสนองต่อการรักษาช้า ถึงแม้ว่าอาการจะสัมพันธ์กับความไม่สวยงามซึ่งอาจส่งผลต่อความไม่มั่นใจหรือกระทบต่อจิตใจของคนที่เป็น แต่ฝ้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพและระบบอื่นๆของร่างกาย ไม่พบการรายงานการเปลี่ยนแปลงของฝ้าไปเป็นมะเร็งผิวหนังแต่อย่างใด
ฝ้าที่พบในคนตั้งครรภ์มักสัมพันธ์กับการเกิดฝ้าในคนอายุน้อยและมักพบฝ้าบริเวณใบหน้าเป็นหลัก ส่วนใหญ่เมื่อทำการรักษา ฝ้ามักจะหายได้ภายใน 1 ปีหลังคลอดบุตร แต่มีคนไข้ร้อยละ 30 ที่อาจจะหลงเหลือรอยฝ้าให้เห็นได้บางส่วน กรณีไม่ได้รักษา ฝ้าที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์อาจจะหายได้เองเพียงประมาณร้อยละ 6 อย่างไรก็ตามอาจพบการกลับมาเป็นซ้ำของฝ้าในการตั้งครรภ์ครั้งถัดๆ ไปได้
“ในผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด การตอบสนองของฝ้าต่อการรักษามักจะไม่ค่อยดีหรือบางครั้งอาจจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาเลยก็เป็นได้”
ลักษณะอาการอื่นๆ ที่อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นฝ้า (Differential diagnosis)
ตัวอย่างของโรคที่มีลักษณะคล้ายฝ้า เช่น
- Pigmented contact dermatitis
เป็นผื่นแพ้สัมผัสชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดรอยสีน้ำตาลหรือเทาหลังสัมผัสสารบางชนิด เช่น น้ำหอม สารกันเสีย สีย้อมผ้า เครื่องสำอาง เป็นต้น ตำแหน่งของรอยโรคสัมพันธ์กับตำแหน่งที่สัมผัสสาร กรณีที่สงสัยสามารถทำการทดสอบ Patch test เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ - Postinflammatory hyperpigmentation
หรือรอยดำตามหลังการอักเสบต่างๆ อาจพบเป็นปื้นสีน้ำตาลคล้ายฝ้าได้ แต่มักจะมีประวัติมีการอักเสบของผิวหนัง มีผื่น คัน มีขุย แสบแดง หรือมีแผลนำมาก่อน เมื่อรอยโรคเดิมหายไปจึงมีรอยสีน้ำตาลตามมา - Hori’s nevus
หรือกระลึก มีรอยโรคบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง ขอบเขตชัดเจน มีสีน้ำตาลอมเทาหรือสีฟ้าอมเทา มักพบในผู้หญิงเชื้อสายเอเชียเป็นหลัก - Actinic lichen planus
รอยโรคสีม่วงอมเทา ถ้ายังมีการอักเสบอาจจะยังเห็นขุยบริเวณรอยโรคได้ - Nevus of Ota
หรือปานดำโอตะ มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลเทาหรือสีฟ้าอมเทา แต่มักเป็นข้างเดียว และเป็นตั้งแต่เกิด
จากที่กล่าวมาจะพบว่าในการวินิจฉัยแยกโรคนั้นต้องอาศัยการซักประวัติ การมองหาสิ่งกระตุ้นที่อาจจะเป็นไปได้และการตรวจร่างกาย จึงจะสามารถให้การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น
วิธีการรักษาฝ้า
ฝ้าเป็นโรคที่รักษาค่อนข้างยาก อาการมักเป็นๆ หายๆ และใช้เวลาในการรักษานาน ดังนั้นการรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น จึงมีความสำคัญมากในการรักษา ซึ่งโดยทั่วไปฝ้าชนิดตื้นสามารถที่จะรักษาด้วยการใช้ยาทา หรือการลอกหน้า แต่ฝ้าชนิดลึกมักมีความยากลำบากในการรักษา โดยการรักษาฝ้ามีหลายวิธีดังนี้คือ
1. การหลีกเลี่ยงแสงแดดและป้องกันตนเองจากแสงแดด
ซึ่งรวมถึงการสวมเสื้อผ้าแขนขายาวโดยเฉพาะผ้าสีดำหรือสีเข้ม การสวมหมวกปีกกว้างเพื่อป้องกันแสงแดด กางร่มขณะออกแดด ใส่แว่นตากันแดด หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในช่วงแดดจัด โดยเฉพาะช่วงเวลาระหว่าง 10 โมงเช้า ถึงบ่าย 4 โมงเย็นและการใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการป้องกันและรักษาฝ้า
ครีมกันแดดที่ใช้ควรมีความสามารถในการปกป้องทั้งรังสียูวีเอ (UVA) และรังสียูวีบี(UVB) โดยมีค่า SPF ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการป้องกันรังสียูวีบี ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และมีค่าการปกป้องรังสียูวีเอ ซึ่งจะมีฉลากแสดงเป็น PA (ควรใช้ครีมกันแดดที่มี PA++ ถึง PA+++) หรือ เครื่องหมาย UVA ที่มีวงกลมล้อมรอบหรือติดฉลากคำว่า Broad spectrum ร่วมด้วย นอกจากนี้ควรเลือกครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสาร Titanium dioxide หรือ Zinc oxide ซึ่งเป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสง สามารถปกป้องแสงแดดได้ทั้งในกลุ่มรังสียูวี กลุ่มแสงที่มีความยาวคลื่นในช่วงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ (visible light) และ รังสีอินฟราเรด (infrared light) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้นได้เช่นเดียวกัน
การทาครีมกันแดดต้องทาในปริมาณที่มากเพียงพอต่อการป้องกันแสงแดด โดยต้องทาอย่างน้อยเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร หรือประมาณ 1 ข้อนิ้วชี้สำหรับทาหน้าและคอ ซึ่งควรทาอย่างน้อย 2 รอบ ถึงจะเพียงพอต่อการปกป้องแสงแดด และควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 30 นาที และทาซํ้าทุกๆ 2 ชั่วโมงในระหว่างวัน กรณีทำกิจกรรมที่เหงื่อออกมากหรือว่ายนํ้า ควรทาครีมกันแดดที่สามารถป้องกันนํ้าได้ (water resistant) และทาซํ้าในทันทีหลังเหงื่อออกหรือว่ายนํ้าเสร็จ
นอกจากนี้การทาครีมกันแดดควรทาเป็นประจำ ทุกวัน ทั้งในวันที่อยู่ในที่ร่มและวันที่ต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เนื่องจากรังสียูวีบางส่วนโดยเฉพาะรังสียูวีเอ สามารถทะลุผ่านกระจกมาทำ ร้ายผิวของเราได้ในทุกวันแม้จะอยู่ในบ้านก็ตาม
“พบว่าการทาครีมกันแดดที่เหมาะสมและเพียงพอ สามารถลดความรุนแรงของฝ้าได้ประมาณร้อยละ 50 และยังช่วยลดโอกาสการเกิดฝ้าในคนตั้งครรภ์ได้มากถึงร้อยละ 90 อีกด้วย”
2. ยาทา
เป็นการรักษาหลักในการรักษาฝ้า โดยยาทาฝ้ามีหลายชนิด ได้แก่
ไฮโดรควิโนน (hydroquinone)
เป็นยาที่ใช้บ่อยในการรักษาฝ้า โดยกลไกการออกฤทธิ์ของยาจะทำ ให้มีการสร้างเม็ดสีเมลานินลดลง ผ่านการยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตเม็ดสี (tyrosinase) และยังสามารถทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีได้โดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปไฮโดรควิโนน ในขนาดความเข้มข้นตํ่า (2-4%) มีประสิทธิภาพดี และผลข้างเคียงน้อย โดยผลข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น อาจทำ ให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง (irritant contact dermatitis) หรือ ผื่นแพ้ผิวหนัง (allergic contact dermatitis) เป็นต้น แต่ในความเข้มข้นสูง (>5%) เมื่อใช้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดความผิดปกติของสีผิวอย่างถาวรที่เรียกว่า โอโครโนซิส (ochronosis) ซึ่งเป็นการสะสมของสาร homogentisic acid ผิดปกติในชั้นผิวหนัง ทำให้เห็นเป็นลักษณะปื้น จุดดำ คล้ายไข่ปลาคาเวียร์ หรือตุ่มนูนสีดำ บริเวณผิวหนังได้ คนที่เป็นโอโครโนซิสนี้ มักมีประวัติการซื้อยาทาฝ้าที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้เอง ซึ่งในตอนแรกหลังการใช้ ฝ้ามักจะจางลง ต่อมาเมื่อใช้ยาไประยะหนึ่ง จะพบว่ามีรอยดำ เกิดขึ้นใหม่และเพิ่มมากขึ้นในบริเวณที่ทายาดังกล่าว โดยภาวะนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะยิ่งมีปัญหาในการรักษามากขึ้น และยังไม่มีการรักษาใดที่มีประสิทธิภาพที่ดีต่อภาวะดังกล่าว
ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้จากการใช้ยาไฮโดรควิโนนความเข้มข้นสูง คืออาจทำ ให้มีการตายของเซลล์สร้างเม็ดสีแบบถาวร เห็นเป็นรอยด่างขาวของผิวตามมา
“ในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ห้ามผสมสารไฮโดรควิโนนในเครื่องสำอางเกินร้อยละ 2 แต่กรณีความเข้มข้นที่สูงขึ้น ต้องให้แพทย์สั่งจ่ายและติดตามผลเพื่อประเมินอาการและผลข้างเคียงจากการใช้ยา”
กรดวิตามินเอ (tretinoin 0.025-0.1%)
กรดวิตามินเอ (tretinoin 0.025-0.1%) นอกจากจะทำให้มีการแบ่งตัวของผิวหนังเร็วมากขึ้น มีการผลัดและหลุดลอกของผิวหนังชั้นบนมากขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการยับยั้งการส่งต่อของเม็ดสีจากเซลล์สร้างเม็ดสีไปที่เซลล์ผิวหนัง ยับยั้งการสร้างเม็ดสี ลดการอักเสบของผิวหนัง มีคุณสมบัติในการชะลอกระบวนการแก่ตัวของเซลล์ผิวหนัง (anti-aging property) และสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นหนังแท้อีกด้วย โดยผลข้างเคียงของยาที่อาจพบได้คือ ทำให้มีการระคายเคืองต่อผิวหนัง มีอาการแห้ง ลอก แสบ แดง คันได้ การรักษาด้วยยาชนิดนี้เพียงตัวเดียวมักเห็นผลช้า ดังนั้นจึงนิยมให้ร่วมกับการทายาชนิดอื่น เช่น ไฮโดรควิโนน และยาทาสเตียรอยด์ เป็นต้น
ยาทาสเตียรอยด์ (topical steroid)
ยาทาสเตียรอยด์ (topical steroid)มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ กดการสร้างเม็ดสี ทำให้ฝ้าจางลงได้ แต่ถ้าใช้ยาเป็นเวลานานหรือใช้ยาที่มีฤทธิ์แรง อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ เช่น ผิวฝ่อบางลง มีหลอดเลือดฝอยขยายตัวทำ ให้ผิวบริเวณดังกล่าวแดงมากขึ้น มีรอยแตกลายของผิวบริเวณที่ทายา ขนดกมากขึ้น หรือเกิดสิวตามหลังการทายา เป็นต้น ในการรักษาฝ้าโดยปกติยาชนิดนี้มักไม่ใช้ตัวเดียว แต่มักใช้ร่วมกับยาไฮโดรควิโนน และกรดวิตามินเอ
ยาผสมระหว่าง ไฮโดรควิโนน (hydroquinone2-4%), กรดวิตามินเอ (tretinoin 0.05-0.1%) และ สเตียรอยด์ชนิดทา (corticosteroid) เมื่อใช้ร่วมกับการป้องกันแสงแดดที่ถูกวิธี และการกำจัดปัจจัยกระตุ้นอื่นๆที่ก่อให้เกิดฝ้า จะเป็นการรักษาหลักที่ได้ประสิทธิภาพในการรักษาดี เนื่องจากยาแต่ละชนิดจะส่งเสริมประสิทธิภาพของกันและกัน และช่วยลดผลข้างเคียงจากยาตัวอื่น โดยในการรักษาฝ้าชนิดตื้นใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 2 เดือนจึงจะเริ่มเห็นว่าฝ้าเริ่มจางลง และใช้เวลาอีกอย่างน้อย 6 เดือนจึงจะทำ ให้ได้ผลการรักษาที่น่าพึงพอใจ
กรดอาซิเลอิก (azelaic acid)
กรดอาซิเลอิก (azelaic acid) มีฤทธ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน และลดกระบวนการอักเสบของผิวหนัง กรดอาซิเลอิกในขนาด 15-20 % สามารถใช้ในการรักษาฝ้าได้ อาจพบผลข้างเคียงเล็กน้อยจากการใช้ยา เช่น แดง คัน แสบบริเวณที่ทายาเป็นต้น ซึ่งโดยส่วนมากอาการดังกล่าวมักจะหายได้เอง
กรดวิตามินซี (ascorbic acid)
กรดวิตามินซี (ascorbic acid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบของผิวหนัง ทำให้ฝ้าจางลงได้
ยาทาชนิดอื่นๆ
ยาทาชนิดอื่นๆเช่น สารสกัดจากถั่วเหลือง (soy และ soy-based product), กรดโคจิก (kojic acid), กรดไกลคอลิก (glycolic acid), กรดซาลิไซลิก (salicylic acid), ลิโคริช (licorice), วิตามินอี, melatein-x, arbutin, mulberry extract, niacinamide เป็นต้น ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์อ่อนในการรักษาฝ้า แต่ข้อดีคือมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย อาจจะได้ผลดีในกรณีใช้ร่วมกับการรักษาฝ้าด้วยยาชนิดอื่นๆ หรือในคนที่เป็นฝ้าไม่มากนัก
“ในการรักษาฝ้าด้วยยาทามักแนะนำให้ใช้ยาหลายชนิดร่วมกันมากกว่าใช้ยาเพียงตัวใดตัวหนึ่ง เนื่องจากยาทาแต่ละชนิดมีกลไกในการรักษาฝ้าที่แตกต่างกันออกไป”
3. ยารักษาฝ้าชนิดรับประทาน
ยารับประทานที่มีการนํามาใช้ในการรักษาฝ้า คือ Tranexamic acid ซึ่งจะยับยั้งการผลิตเม็ดสี ผ่านทางกลไกการยับยั้ง plasminogen/plasmin pathway ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการหลักที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด จากการศึกษาพบว่า ยาสามารถทำให้ฝ้าจางลงได้ แต่ฝ้ามักกลับมาเป็นซ้ำหลังหยุดยา
ในปัจจุบันการรักษาฝ้าด้วยวีธีนี้ยังไม่ใช่การรักษาหลัก ยังไม่มีการศึกษาการใช้ยาในระยะยาว และถึงแม้ว่าการรักษาฝ้าด้วยยาชนิดนี้จะมีผลข้างเคียงไม่มากนัก เนื่องจากยาที่ใช้มีขนาดที่น้อยกว่าขนาดที่ใช้ในการหวังผลในการหยุดเลือดมาก แต่อย่างไรก็ตาม ยาอาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ ท้องอืด ประจำเดือนผิดปกติ มีการอุดตันของหลอดเลือดดำ เป็นต้น ดังนั้นก่อนให้ยาควรมีการซักประวัติของผู้ป่วยและประวัติคนในครอบครัวก่อนทุกครั้ง ว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่จะมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือไม่ มีโอกาสเกิดการอุดตันของหลอดเลือดหรือไม่ และควรพิจารณาการใช้ยาชนิดนี้ในผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
4. การรักษาฝ้าด้วยวิธีอื่นๆ
การผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมีอ่อนๆ (superficial chemical peels) เช่น กรดไตรคลอโรอะซิติก (TCA) กรดไกลคอลิก (glycolic acid) เปอร์เซนต์ต่ำ ทำให้มีการผลัดเซลล์ผิวส่วนบนออกเร็วขึ้น ส่งผลให้ฝ้าจางลงตามมา
วิธีการรักษานี้มักใช้เป็นการรักษาเสริมร่วมกับการทายา โดยฝ้าที่ได้ผลดีจากการรักษาวิธีนี้คือฝ้าชนิดตื้น หลังการรักษาอาจมีอาการหน้าแห้งลอกได้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงแสงแดด ใช้ครีมกันแดดและครีมบำารุงผิวเยอะๆ การโดนแดดจัดหลังการรักษาอาจทำาให้เกิดรอยคล้ำเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น อาการแดงอักเสบของผิวหนัง การติดเชื้อ การกำเริบของโรคเริม รวมถึงอาจเกิดแผลเป็น เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้มักสัมพันธ์กับการใช้สารที่ไม่เหมาะสม หรือการดูแลหลังการรักษาไม่ดีเพียงพอ
การรักษาด้วยเลเซอร์และแสง จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าผลสำเร็จของการรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์ยังไม่แน่นอน โดยอาจใช้เป็นทางเลือกเสริม คู่กับการทายารักษาฝ้า ซึ่งอาจจะทำให้ฝ้าจางลงเร็วขึ้น การเลือกใช้เลเซอร์มักเลือกกลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดแผลบริเวณผิวหนัง มากกว่าเลเซอร์ชนิดที่มีแผล เนื่องจากเลเซอร์ชนิดมีแผลอาจก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนังและมีรอยดำเพิ่มมากขึ้นตามมาได้ เลเซอร์ชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดแผลที่มีการนำมาใช้ เช่น Q-switched Nd:YAG laser, Q-switched ruby laser เป็นต้น แต่ถ้ามีการตั้งค่าพลังงานไม่เหมาะสมอาจมีผลข้างเคียง คือมีการทำาลายเม็ดสีอย่างถาวร ทำาให้เห็นเป็นรอยขาวเป็นหย่อมๆ ตามมาได้ เลเซอร์อื่นๆ ที่มีการนำมาใช้ เช่น fractional 1550 nm non-ablative laser, pulsed-dye laser, copper bromide laser เป็นต้น
นอกจากการใช้เลเซอร์ที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ มาช่วยเสริมในการรักษาฝ้า เช่น การใช้เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ (Fractional Radio Frequency), Intense pulsed light (หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ IPL) เป็นต้น
5. อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญในการรักษาฝ้า
อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญในการรักษาฝ้า คือ การค้นหาสาเหตุและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดฝ้า เช่น ควรหลีกเลี่ยงสารที่ก่อการระคายเคืองต่างๆ กรณีที่รับประทานยาคุมกำเนิด ถ้าเป็นไปได้ควรจะหยุดยาและพิจารณาเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดใหม่ เป็นต้น
ถึงแม้ว่าการรักษาฝ้าจะมีหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่ในปัจจุบันพบว่า ฝ้ายังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดโดยไม่กลับมาเป็นซํ้า ดังนั้นการป้องกันและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นจึงมีความสำคัญในการรักษาเป็นอย่างมากและการรักษาฝ้านั้นต้องมีการติดตามโดยแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามประสิทธิภาพของการรักษาและตรวจสอบผลข้างเคียงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการรักษา
การดูแลตัวเองในระหว่างการรักษาฝ้า
สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกถึงเสมอในการรักษาฝ้าประกอบด้วย
- หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
- หลีกเลี่ยงการออกแดดจัดและใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสมในปริมาณที่เพียงพอ
- กรณีใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาฮอร์โมนทดแทนอาจพิจารณาหยุดยาถ้าเป็นไปได้
- เนื่องจากยาทาแต่ละชนิดมีผลข้างเคียงได้ การทายาที่ถูกวิธีในปริมาณที่เหมาะสมจึงมีผลต่อการประสบผลสำาเร็จในการรักษาและลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาวิธีการทายาที่ถูกต้อง ก่อนการใช้ยาแต่ละชนิด กรณีมีคำาถามเรื่องการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- ไม่ควรซื้อยาทาฝ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือยาที่ไม่มีแหล่งที่มาอย่างชัดเจนมาใช้เอง เนื่องจากอาจมีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างถาวรกับผิวหนังได้
- การรักษาที่ถูกวิธีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จของการรักษาได้
สรุปเรื่องฝ้า
ฝ้าเป็นปัญหาที่ใครๆ ก็ไม่อยากพบเจอ แต่เมื่อเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวฝ้า เรียนรู้เรื่องลักษณะอาการของฝ้า หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เป็นฝ้ามากขึ้น รู้วิธีการในการดูแลตนเองและการรักษาที่ถูกต้อง ร่วมกับติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะสามารถทำให้อาการของฝ้าดีขึ้น ลดโอกาสการเกิดซ้ำของฝ้าและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นฝ้าดีขึ้นอีกด้วย
อ้างอิงบทความมาจากสถาบันโรคผิวหนัง
แนะนำครีมทาฝ้าราคานักศึกษา คุณภาพดีที่คุณต้องลอง ของดีบอกต่อ
ALESE DARK SPOT AND ANTI-MELASMA CONCENTRATE CREAM
คุณสมบัติ
- ช่วยลดเลือนฝ้า กระ จุดด่างดำ ผิวหมองคล้ำ กระจ่างใส
- ยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวใต้ผิวหนัง ป้องกันฝ้าเก่าไม่กลับมาเป็นซ้ำ
- บำรุงผิวให้กระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติ สีผิวสม่ำเสมอ ผิวเด้ง เนียนนุ่ม ชุ่มชื่น แข็งแรง
- ช่วยลดริ้วรอย กระชับรูขุมขน
ส่วนประกอบ
- MELATEIN-X สารสกัดไวท์เทนนิ่ง ยับยั้งการผลิตเม็ดสีผิวประสิทธิภาพออกฤทธิ์ได้มากกว่า ARBUTIN ถึง 80 เท่า
- MELAZERO ช่วยสลายเม็ดสีเมลานินบนผิวหนังและยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินบนผิวหนัง
- BRIGHLETTE มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งกลไกที่ทำให้ผิวหมองคล้ำได้ทุกกลไก
- VC-IP มีประสิทธิภาพที่ดีในการทำให้ผิวแลดูขาวกระจ่างใส ลดฝ้ากระจุดด่างดำ ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย
- PENTAVITIN ช่วยในการเก็บรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวได้อย่างยาวนาน
- Tranexamic acid ช่วยปรับผิว ให้กระจ่างใสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ผิวคล้ำหรือเป็นฝ้า โดยมีสาเหตุจากแสงแดดDragon Blood มีคุณสมบัติช่วยชะลอและลดเลือนริ้วรอย ลบเลือนรอยแผลเป็น ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ รังสียูวี มลภาวะที่เป็นพิษ ช่วยลดรอยแดงบนใบหน้า ทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น
- Concentrate Multi Vitamins
มีประสิทธิภาพที่ดีในการทำให้ผิวแลดูขาวกระจ่างใส ลดฝ้ากระจุดด่างดำ
ช่วยลดริ้วรอยและรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว ช่วยลดอาการแดงและอาการระคายเคืองบนผิว
ช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อชั้นผิวใหม่ ลดการอักเสบของผิว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับ ผิวที่เป็นสิว เป็นแผล เป็นผื่นคัน มีอาการแพ้
เหมาะกับ
ทุกสภาพผิว / ผิวแพ้ง่าย / ผิวหมองคล้ำ / ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับฝ้า
ราคา
แบบขวด : 490 บาท
แบบกล่อง : 294 บาท (6 ซอง)
แบบซอง : 49 บาท
ปริมาณ
แบบขวด : 30 กรัม
แบบซอง : 7 g.
หาซื้อได้ที่
แบบขวด : Website, Shopee, Lazada, Line, Facebook, Tiktok
แบบกล่อง : Website, Shopee, Lazada, Line, Facebook, Tiktok
แบบซอง : Website, Shopee, Lazada, Line, Facebook, Tiktok, 7-11 และบิวตี้ช็อปทั่วประเทศ
สั่งซื้อสกินแคร์ของเราในราคาพิเศษวันนี้! คลิ๊กเลย!
Your work has captivated me just as much as it has you. The sketch you’ve created is tasteful, and the material you’ve written is impressive. However, you seem anxious about the prospect of presenting something that could be considered questionable. I believe you’ll be able to rectify this situation in a timely manner.